วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

field trip 7/30-07-53



ทริป สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น วันที่ 7 / 30 ก.ค.53

การเดินทางของเราก้าวเข้าสู่วันที่ 7 วันนี้เราออกเดินทางจากโรงแรมที่พัก มุ่งหน้ายัง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย วัดที่เราไปที่แรก คือ วัดพระศรีมหาธาตุราชวรวิหาร ซึ่งอยู่ใน อุทยานฯ ที่นี่ เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองพี่เมืองน้อง กับสุโขทัย

ศรีสัชนาลัยจะมีภูเขาและมีเจดีย์อยู่ข้างบน คือภูเขาพนมเพลิง ลักษณะเด่นที่เห็น จะเป็นกำแพงศิลาแลง ยาวเพื่อบ่งบอกอาณาเขตของ open space

สิ่งที่โดดเด่นอีกสิ่งคือ ที่วัดแห่งนี้มีการวางผัง โดยใช้เส้นแกนหลักเป็นแนวยาว พาดผ่านโดยมีการวางซุ้มประตูที่มีทับหลังพาดเป็นแนวเริ่มต้นของแกนอาคาร อ.จิ๋วอธิบายว่า กำแพงที่ไม่เปลือยอิฐ เมื่อเวลาผ่านไปก็หลุดร่อน ทำให้เผยวัสดุที่แท้จริงออกมา

ถัดมาเป็นวัดโคกสิงคาราม สิ่งที่เหลือและเห็นจากซาก จะเป็นผนังเจาะช่องหน้าต่างแบบลูกกรง ร่องยาวดิ่ง ซึ่งเป้นเอกลักษณ์ของ สถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย เจดีย์ประธานด้านหลัง มีสามองค์เรียงเป็นเส้นแกนเดียวกัน มีขนาดและรูปทรงที่เหมือนกัน

ต่อจากนั้นเราได้มีโอกาสมาที่หมู่บ้านรอบๆกำแพงเมืองของศรีสัชนาลัย บ้านเรือนมีลักษณะยกใต้ถุนสูง เสาไม้กลมซึ่งคาดว่าน่าจะมีอายุมากแล้ว แต่ในขณะที่บางหลังมีการผสมผสาน วัสดุสมัยใหม่โดยเฉพาะผนังก่ออิฐ ทำให้รูปแบบได้เปลี่ยนไม่บ้างบ้าน จะไม่มีใต้ถุนโล่ง และบ้างบ้านเริ่ม มาสร้างในสมัยหลังจะเป็นหน้าต่างกระจกหลังคามุง กระเบื้องลอนที่เป็นของใหม่ ที่อย่างเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ผสมผสานทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ กันไปซึ่งสังเกตเห็นได้มากมาย

จากนั้นเป็นวัดกุฎีราย วัดแห่งนี้มีวิธีการก่อสร้างที่น่าสนใจ ด้วยการใช้หลักการแบบเดียวกันกับ คอลเบล ของกรีก ลักษณะการก่ออิฐให้เป็น arch ยอดแผหลม อ.จิ๋ว อธิบายว่าแต่เดิมเป็นไม้แต่มีการพัฒนามาสู่อิฐ รอบๆทางเดินโปร่งโล่ง มีต้นมะม่วงใหญ่ บ่งบอกถึงกาลเวลา ทำให้ space ของพระพุทธเด่นด้วย
หลังจากนั้นเราเดินทางมาทานข้าวเที่ยงกันที่จุดบริการนักท่องเที่ยว ที่นี่มีร้านอาหารอยู่ไม่มาก แต่ที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ คือต้มยำปลาเค้า จากร้านของลุงท่านหนึ่ง เนื้อปลาสด อร่อยมาก บวกกับน้ำต้มยำที่รสแซ่บ เข้ากันได้ดี เรียกเหงื่อได้ดีอีกด้วย

ทานข้าวเสร็จแล้วก็เดินทางต่อมายังพิพิธภัณฑ์เตาเผาถ้วยชาม สังคโลก อาคารที่นี่นำเอาลักษณะช่องเปิดสูงยาว และ วัสดุอย่าง อิฐ ศิลาแลง ที่เป็นเอาเอกลักษณ์มาใช้ ทำให้ดูเข้ากับพื้นที่ได้ดี รวมทั้งวัสดุมุงหลังคาก็เป็นแบบท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ที่นี่ มีส่วนจัดแสดง 2ส่วนหลักๆ การตกแต่งภายใน ก็ยังเลือกใช้อิฐมาเป็นเอกลักษณ์ ส่วนที่จัดแสดงเตาเผาโบราณ ที่ถูกขุดซากไว้ ซึ่งต้องการพื้นที่ภายในโปร่งโล่ง ไม่มีเสากลาง เพราะต้องคลุมพื้นที่ช่วงกว้าง ได้แก้ปัญหานี้ ด้วยโครงสร้าง truss เหล็ก ที่หลังคาเป็นรูปทรง กลมกลืนกันทั้งตัวอาคาร

ถัดมาเราก็ได้เดินดูบ้านเรือนชาวบ้านใกล้เคียง มีบ้านอยู่หลายหลังที่น่าสนใจ ในเรื่องการเล่นระนาบผนัง การเปิดช่องเปิด ที่เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจของชาวบ้าน แต่เกิดจากประโยชน์ใช้สอยภายใน และสภาพแวดล้อมท้องถิ่น ทำให้เกิดมิติที่น่าสนใจ และความงามขึ้น

หลังจากนั้นเดินทางต่อไปที่วัดเก้ายอด หมายถึงเจดีย์ประธานของวัดนี้มีเก้ายอด คือยอดองค์ประธานหนึ่ง รวมกับอีกแปดยอดบริวารที่ประจำมุมและประจำทิศ ยอดเจดีย์ประธานคล้ายกับทรงดอกบัวตูม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัย และยังมีวิหารโถงเฉลียงรอบ เป็นวัดโบราณที่ สร้างอยู่บนเนินเขาสูงชัน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาโบราณที่มีความสามารถ ออกแบบให้โครงสร้างอยู่กับสภาพภูมิประเทศได้อย่างกลมกลืน เราเดินเท้าต่อมายังวัดเขาใหญ่ล่าง ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายกับวัดเก้ายอด ก่อสร้างให้สอดรับกับธรรมชาติ ถัดมาเป็นวัด นางพญา ซึ่งวัดแห่งนี้มีความสำคัญในแง่ของศิลปะ แบบอยุธยาตอนต้น เพราะมีรูปแบบของการปั้นปูนเป็นลวดลาย พฤษา แต่ยังมีรูปแบบผนังช่องเปิดแบบสุโขทัยอยู่ด้วย

เดินเท้าต่อมายังวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ และวัดช้างล้อม

ซึ่งวัดทั้งหมดนี้อยู่ในบริเวณใกล้เคยกัน รูปแบบศิลปะเป็นแบบสุโขทัย การวางผังตัวอาคารจะมีความใกล้เคียงกัน

จากนั้นเราต้องขึ้นเขาไปยัง วัดเขาสุวรรณคีรี วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขา มีลักษณะภูมิประเทศสูงชัน แต่เมื่อขึ้นไปแล้ว จะสามารถเห็นวิวทิวทัศน์รอบๆ เมืองศรีสัชนาลัยได้อย่างชัดเจน ที่นี่มีซุ้มประตูที่มีการวางทับหลัง ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร หลังจากที่เราขึ้นไปได้ไม่นานก็เย็นมากแล้ว และต้องเดินกลับลงมาเพื่อเดินทางกลับ ระหว่างที่เดินก็จะพบกับบรรยากาศยามเย็นที่สวยงามมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น