วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

field trip 2/25-07-53


ทริป สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น วันที่ 2 / 25 ก.ค.53

วันที่สองของการเดินทางศึกษาสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น หลังจากที่เมื่อคืนเราเดินทางมาถึงโรงแรมที่พักเกือบตี 1 วันที่สองนี้เราต้องออกเดินทางกันต่อในเวลา 9 โมงครึ่ง เราเดินทางกันไปยังวัดไหล่หินหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง หรือชื่อเป็นทางการ คือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม (วัดไหล่หินแก้วช้างยืน) เป็นวัดที่มีวิหารเก่าแก่ สกุลฝีมือช่างเชียงตุง ศิลปะแบบล้านนาไทย

สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ ซุ้มประตูก่ออิฐที่ปั้นปูนที่เป็นศิลปะของล้านนา เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ที่สำคัญยังเป็นวัดที่มีลานทรายโปร่งโล่ง

มีต้นโพธิ์ ใหญ่ที่ชาวบ้าน จะนำเอาไม้ที่เป็นง่าม มาค้ำกิ่งก้านไว้ ตามประเพณีความเชื่อ ของคนล้านนา มาถึงที่นี่ อ.จิ๋วก็อธิบายให้ฟังว่าล้านนาแต่ เดิมจะไม่มีศาลาการเปรียญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจึงมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม ของใหม่ ที่สอดแทรกเข้ากับโบราณสถาน

มีเรื่องหนึ่งที่ อ.จิ๋วให้ข้อคิดไว้ว่า การสร้างของใหม่ในบริเวณที่เป็นโบราณสถานจะต้องคำนึงถึง เรื่องสเกลที่จะต้องถ่ายเข้าสู่โบราณสถาน โดยมีทิ้งระยะห่าง ให้เกิดพื้นที่ระหว่างของเก่าและของใหม่ โดยที่ไม่ให้ของใหม่ไปทำลายเก่า ในแง่ของ ผังบริเวณเดิม และที่สำคัญการบูรณะของเก่าจะต้องเป็นวัสดุกับระเบียบโครงสร้างเดิมให้มากที่สุด

ลานทรายก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมสนใจ ผมไม่เคยได้พบเห็นวัดที่ลานทรายสวยงามอย่างนี้มาก่อน เพราะลานทรายที่นี่สะอาดเรียบร้อย บวกกับการมีต้นโพธิ์ใหญ่เป็น โฟร์กราวน์ นำสายตาของเราไปสู่ซุ้มประตูวิหาร และรูปแบบนี้ก็เป็นที่มาของคำว่า ขนทรายเข้าวัด นั่นเอง อ.จิ๋ว อธิบายว่าลานทรายเป็นเป็นภูมิปัญญาที่ ทำให้วัดสะอาด เรียบร้อย ไม่เลอะเทอะ สามารถรับน้ำได้ และทำให้ไม่รู้สึกร้อนได้

กำแพงแก้วของวิหารที่เป็นสี ขาว ทำให้รู้สึกถึงความสงบเงียบและความบริสุทธิ์ ก่อนจะข้ามผ่านซุ้มประตูต้องถอดรองเท้าเพื่อความสะอาด ความรู้สึกระหว่าที่เดินผ่านซุ้มประตู ที่มีขนาดสเกลไม่ใหญ่มากนักพอให้คนๆเดียวเดินผ่าน เมื่อเข้ามาภายในจะรู้สึกได้ถึงว่าขนาดของวิหารไม่ใหญ่มากนัก เป็นสเกลที่ขนาดพอเหมาะ สื่อให้เห็นถึงวิถีความพอเพียง ของคนในอดีต รูปทรงหลังคาที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา อย่างเด่นชัด ตัวเหงาปันลม ก็จะแตกต่างออกไปจากศิลปะของภาคกลาง เป็นรูปแบบม้วนขด และหลังคาซ้อนชั้นกันเล่นระดับลงมา หลังที่ลาดทิ้งต่ำเป็นลักษณะสำคัญของล้านนา

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้วิหารโดดเด่นคือลายแกะสลัก ไม้ และปูนปั้นของหน้าบัน ทางเข้าที่วิจิตรสวยงาม พื้นที่ภายในไม่ใหญ่มากนัก จุดประสงค์คือต้องการให้ผู้ที่เข้ามาแล้วจะต้องนั่งอยู่ภายใน สิ่งที่ทุกๆคนจะต้องสังเกตเมื่อเข้ามาแล้ว คือจะต้องหันขึ้นไปมองโครงสร้างหลังคาข้างบน ที่ต้องทึ่งกับโครงสร้างภูมิปัญญาของคนในอดีต เป็นโครงสร้างที่สวยงามมาก

ถัดไปด้านหลังของวิหารจะเป็นพระเจดีย์แบบศิลปะล้านนา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ มีสีขาว ยอดเป็นสีทอง ตั้งเด่นสง่างามซึ่งมีระยะห่างระหว่างวิหารอย่างสวยงาม

ระเบียงคตที่โอบล้อมไว้เป็นตัวบอกถึงอาณาเขต พุทธาวาสอย่างชัดเจน วัสดุรูปแบบของหลังคานี้ อ. จิ๋ว บอกว่า พวกรีสอร์ท โรงแรม มักจะนำเอาระเบียบวิธีการ สเกล นี้ไปใช้ เป็นการประยุกต์ให้เข้ากับงานสมัยใหม่ หรืองาน modern

หลังจากนั้นเราก็ได้เดินทางต่อมายัง วัดพระธาตุลำปางหลวง ถึงเวลาเที่ยงเราก็พัก ทานข้าวเที่ยงที่นี้ ต่อจากนั้นเราก็ฟัง อ. จิ๋ว บรรยาย ลักษณะเด่นที่เห็นสิ่งแรกคือ กำแพงอิฐเปลือย ที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดนาคเดินขึ้นไปข้างบนมีขนาดใหญ่พอสมควร ซุ้มประตู มีลักษณะคล้ายกับวัดไหลหินแต่สเกล ต่างกันมากที่เดียว รวมไปถึงรูปแบบการวาง ผังบริเวณ เมื่อเดินเข้ามาจะพบกับลานทรายและต้นโพธิ์ที่มีไม้ค้ำ เมื่อเข้าผ่านประตูกำแพงแก้วมาแล้วจะทำให้เห็นถึง สเกลที่ใหญ่โตมาก มีผู้คนเข้ามาทำบุญห่มพระธาตุกันเป็นจำนวนมาก สถาปัตยกรรมของตัว วิหารมีสเกล ล้อไปกับตัวพระธาตุ

ภายในประดับตกแต่งเป็นการเขียนลาย แต่เมื่อไล่ลงมาจะใช้ระนาบของเสาเป็นตัวกำหนด แทนการปิดผนังและลดทนการเขียนลายบริเวณล่างแต่สิ่งที่ น่าสังเกตคือ บริเวณอีกด้านของพระธาตุ มีการปูพื้นเป็นอิฐบ้างแล้ว แทนที่จะเป็นลานทรายทั้ง space ที่ล้อมรอบพระธาตุ

ที่วัดแห่งนี้มีเจดีย์ อยู่อีกหลายองค์ ประดิษฐานอยู่รอบๆ พระธาตุหลวง วิหารรองก็สร้างรายล้อม ภายในพื้นที่ open space

หลังจากนั้นเราก็เดินทางต่อมายัง วัดปงยังคก วัดแห่งนี้เป็นวัดเล็กๆ แต่ที่สำคัญอยู่ที่ วิหารพระแม่เจ้าจามเทวี สร้างเมื่อ พ.ศ. 1253

ตำนานเล่าว่าเป็นวัด ประจำตระกูล ณ ต่างๆ ของคนทางเหนือ มีลักษณะวิหารขนาดไม่ใหญ่ขนาดน่าจะใกล้เคียงกับวิหารของวัดไหล่หิน แต่โครงสร้างเป็นไม้เกือบทั้งหมด อาจจะมีส่วนที่เป็นการบูรณะเสาที่ใช้ ปูนมาพอก และส่วนหลัง รวมทั้งช่องเปิดด้านข้าง ที่เป็นส่วนของ อาสนะสงฆ์

ภายในวิหารที่นี้ใช้ การเล่นระนาบการตกแต่ง กับระนาบของเสาที่เปิดโล่ง เรียกว่า special form การตกแต่งจากภายในตั้งแต่โครงสร้างหลังคาจากข้างบนลงมา แล้วค่อยๆลดลายละเอียดลงจนถึงช่วงล่าง ที่มีแค่ระนาบเสา เมื่อมองจากภายในออกสู่ภายนอกจะเห็นลานทรายที่สะอาดตา เกิดความสงบภายในใจ

หลังจากนั้นเราก็มายังบ้านพื้นถิ่น ของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงที่มีลักษณะโครงสร้างไม้ ที่มีการอยู่รวมกันแบบเครือญาติ

ลักษณะเด่นของบ้านสองหลังนี้คือการทำหลังคาจั่วชนกัน และประยุกต์เอารางน้ำสังกะสีมาใช้ มีช่องเปิดระนาบต่างๆที่น่าสนใจ สิ่งที่บ่งบอกอายุของบ้านหลังนี้ได้น่าจะเป็นรูปแบบของเสาที่เป็นเสากลม ซึ่งน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 50ปี

หลังจากดูบ้านบริเวณนี้แล้ว พวกเราก็เดินทางกลับสู่โรงแรมที่พักและนอนเอาแรงเพื่อลุยกันต่อในวันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น