วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

field trip 4/27-07-53


ทริป สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น วันที่ 4 / 27 ก.ค.53

การเดินทางสู่วันที่ 4เริ่มขึ้น เราออกเดินทางจากโรงแรมที่ลำปาง และเก็บกระเป๋าเพื่อจะย้ายที่พักลงไปที่จังหวัดสุโขทัย เราเดินทางมายังที่วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง สร้างเมื่อ พ.ศ.1223 วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะจากอาคารเดิม มีการปรับปรุงลานโล่ง ภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นแบบล้านนา โดยพยายามรักษาความเป็นของเดิมให้มากที่สุด และรักษาคุณค่าเดิมที่มีชุมชนอยู่รอบๆของวัด

วัดปงสนุกมีลักษณะเด่นที่มีลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมล้านนา ที่มีโครงสร้างซ้อนชั้นกันอย่างน่าสนใจ มีระนาบของเสาที่มีลูกเล่น และการถ่ายโครงสร้างหลังคาที่ไม่เหมือนวัดอื่นๆในลำปาง การวางผังบริเวณจะต่างไปจากวัดอื่นๆ ที่เราได้เห็น

แต่ซุ้มประตูและทางขึ้นเนินมีลักษณ์ใกล้เคียงกับวัดพระธาตุลำปางหลวง แต่ที สเกลและสัดส่วนที่ เล็กกว่า ที่สำคัญที่นี้เป็นวิหารพระนอนที่สวยงามมาก องค์หนึ่ง และเจดีย์ที่ได้รับการบูรณะซึ่งคาดว่ามีการบุแผ่นโลหะทอง ที่สวยงามโดดเด่น

ต่อมาเรา เดินทางมายังวัดศรีรองเมือง เดิมเป็นวัดของตระกูลสายไทยใหญ่พม่า ตระกูลจะมะละแมง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตระกูลนี้ทำสัมปทานป่าไม้ และได้สร้างวัดนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับเทวดาในป่า

ลักษณะที่แตกต่างไปจากวัดไทยโดยทั่วไปอย่างมาก สเกลสัดส่วน ที่ใหญ่โตมาก รวมทั้งที่เป็นเอกลักษณ์ คือหลังคาขนาดใหญ่ที่ซ้อนชั้นกัน ทำให้ข้อเสียที่มีเสาภายในมากที่เดียวซึ่ง ความคิดของผม คิดว่า ก็จะทำให้เกิดข้อเสียอีกเรื่องคือ หลังคาที่ชนกันอาจจะทำให้การระบายน้ำไม่ดีมากนัก แต่เมื่อเข้ามาภายในก็จะพบกับความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง ภายในถูกประดับตกแต่งด้วยกระจกสีที่มากมาย สีสันที่มากมาย เพดานสีแดงที่มีลวดลายปั้นเป็นเส้นรัก ลายพันธุ์พฤกษา รูปสัตว์และรูปปั้นเทวเทพารักษ์ ซึ่งในความคิดผมคิดว่าน่าจะมาจากรสนิยมของชาวพม่า ที่ชอบการประดับตกแต่งมาก สังเกตได้จากหญิงชาวพม่ามักตกแต่งใบหน้าของตัวเองด้วยสีสัน ที่เราไม่คุ้นตา ขณะที่เราไปได้มีการบูรณะซ่อมแซมอยู่ จึงทำให้เห็นการเปลี่ยนหลังคาที่ใช้วัสดุสมัยใหม่มาอย่างเช่นสังกะสี เข้ามา ซึ่งแต่เดิมผมคาดว่าวัสดุมุงหลังคาแต่เดิมอาจจะเป็นกระเบื้อแผ่นเล็กที่เหมือนอย่างที่ส้วมพม่าโบราณ ข้างๆวัด

การบูรณะหลังคาที่เห็นทำให้เราได้รู้ถึง การใช้วัสดุทดแทนวัสดุดั้งเดิม ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลังคาให้เข้ากับวัสดุมุงของใหม่ด้วย ซึ่งการบูรณะอาคารเก่าให้เหมือนเดิมหรือใช้วัสดุเดิมอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ข้อจำกัดด้านวัสดุ หรือข้อจำกัดด้านงบประมาณ แต่การบูรณะซ่อมแซมก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่การการจะทำให้ออกมายังคงเอกลักษณ์ เดิมความหมายเดิมอาจจะยังพอช่วยให้กลับคืนมาได้

หลังจากที่เราศึกษา วัดศรีรองเมืองแล้ว เราก็

เดินทางต่อมายัง บ้านแม่จอก โปงน้ำร้อน เป็นบ้านเรือนพื้นถิ่นแบบชาวเหนือ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็น เนินเขา มีการทำเกษตรกรรม กลุ่มอาคารถูกวางให้อยู่กันแบบเครือญาติกัน มีลานดินอัดแน่น โปร่งโล่งเป็นตัวทำหน้าที่เชื่อม space ของแต่ละเรือนให้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน เพราะที่นี่จะไม่มีรั้วล้อม ที่ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันในชุมชนกันอย่างใกล้ชิด

ตัวเรือนยกใต้ถุนสูงไว้เก็บเครื่องมือทำมาหากิน และมีพื้นที่พักผ่อนใต้ถุน ยามว่าง เพื่อทำหัตกรรม จักรสาน ทอผ้าไหม ที่นี่เราก็ยังพบเห็นการผสมผสานวัสดุพื้นถิ่นกับวัสดุของใหม่อีกครั้ง สังกะสีเข้ามามีบทบาทมากเช่นกันทั้งเป็นฝาบ้าน และมุงหลัง ใต้ถุนทุกๆบ้านจะสังเกตเห็นว่ามีฟืนไม้อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งบ่งบอกถึงการพึ่งพาธรรมชาติของผู้คนยังคงดำรงอยู่ ระนาบต่างๆที่เกิดจากรูปด้านของบ้านเรือนที่มาจากประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการก็ทำให้เกิดความงามด้วยเช่นกัน

ลักษณะที่บ่งบอกถึงการใช้ชีวิตพึ่งตนเองอีกอย่างหนึ่งคือ ข้างๆลานโล่งจะมีพื้นที่ทำเป็นแปลงผัก สวนครัว โชคไม่ค่อยดีที่ฝนเริ่มตกแล้ว ผมและเพื่อนอีกสาม สี่ คน เข้าขออาศัยมาหลบฝนที่บ้าน คุณตา คุณยาย หลังหนึ่ง ก็สังเกตเห็นว่า คุณยายกำลังแกะเปลือกถั่ว เราจึงได้รู้ว่าหลังจากที่ทำนา ข้าวเหนียวเสร็จแล้ว ก็จะเปลี่ยนมาปลูกถั่วต่อ ซึ่งเป็นวิถีการเพาะปลูกของเกษตรกร จากการที่ได้มาหลบฝนที่ใต้ถุนบ้านหลังนี้ทำให้ผมสังเกต เห็นที่พื้นลานดินที่มีร่องน้ำอยู่ จึงเข้าใจทันทีว่าลานที่ทุกที่ต้องมี ร่องน้ำไว้ระบายน้ำฝนที่ตกมายังลาน หากไม่มีแล้วฝนที่ตกมาในปริมาณมากๆอย่างตอนนี้คงจะ ทำให้น้ำท่วมขังได้และนี่ก็เป็นภูมิปัญญาที่พึ่งพาธรรมชาติ ของชาวบ้าน

จากนั้นเราก็ขึ้นรถกลับออกไปเพราะไม่สามารถลงเดินดูบ้านเรือนได้อีก เราได้มุ่งตรงไปยังสุโขทัยเพื่อไปพักค้างคืนที่นั้นคาดว่า จะถึงในเวลาค่ำเช่นเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น