วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

field trip 5/28-07-53


ทริป สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น วันที่ 5 / 28 ก.ค.53

เข้าสู่วันที่ 5 ของการเดินทาง เป็นเช้าวันแรกที่ สุโขทัย เราเริ่มต้นออกดินทางมุ่งสู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เช้านี้เราเริ่มกันที่ เขื่อนสรีดภงส์ ซึ่งอยู่ที่บริเวณนอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาประทักษ์ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำฝน ที่คนสุโขทัย สมัยโบราณสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ ไว้กักเก็บน้ำและสามารถ ระบายซึมผ่านใต้ดินไปยัง เสาหอ ที่จะทำหน้าที่ใช้อุปโภคบริโภคภายในเมือง ปัจจุบันได้ทำการบูรณะให้แข็งแรงและความสูง มากยิ่งขึ้น ช่วยให้เก็บน้ำได้มากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้เราเห็นว่าการชลประทานก็มีเริ่มมาตั้งแต่สมัยอดีตแล้ว เชื่อว่าเมืองสุโขทัยในอดีตต้องมีขนาดใหญ่มาก ถึงต้องมีการสร้างระบบชลประทานให้รองรับกับความต้องการของเมือง บรรยากาศเมื่อขึ้นไปรู้สึกได้ถึงความสวยงาม อากาศที่สดชื่น และมี back ground เป็นเทือกเขาเขียวขจีบ่งบอกถึงเมืองที่มีความอุดสมบูรณ์

หลังจากที่ได้ยืดเส้นยืดสายที่เขื่อนไปแล้ว เราก็ได้เดินทางต่อมายัง วัดมังกร ซึ่งเป็นวัดโบราณเหลือเพียงแต่ซากอิฐ ความรู้ใหม่ของผมที่นี่คือ ใบเสมาที่อยู่รอบๆ วิหาร ส่วนมากมักจะมีใบเดียวในหนึ่งจุด แต่ที่นี่มีใบเสมาหิน สองใบ ในจุดเดียวกัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนหมายความว่า เป็นการรวมพุทธศาสนา 2 นิกาย เพราะมีนิกายที่รับมาจากลัง เนื่องจากพระสุโขทัยนิยมไปลังกา เชื่อกันว่าเมื่อก่อนเป็นเสาไม้แต่ สุโขทัยเป็นเสาศิลาแลง โครงสร้างวิหารจะเหมือนวัดพระธาตุ ลำปางหลวง และวัดปงยังคก

ที่นี่เรายังพบเห็นบ่อน้ำโบราณ มีโครงสร้างเป็นอิฐก่อขึ้นมาจากใต้ดิน ซึ่งสันนิฐานว่าจะเป็นของวัด

ต่อมาเราก็มาสู่ จุดสำคัญของอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ที่ถือเป็นมรดกโลกที่สวยงามตระการตา นั่นคือ วัดมหาธาตุ เป็นวัดหลวงประจำแผ่นดิน เจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เห็นได้แต่ไกลทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่สุโขทัยหยิบยืม ท้องถิ่นมา มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัดเป็นบ่อน้ำที่ ได้น้ำมาจากตะพัง หรือเขื่อนที่เราได้ไปชมมา จากซากอิฐกำแพงที่เห็นทำให้พบว่าที่นี่ มีลักษณะการเล่นเส้นนอนที่ขนานกับพื้นดินที่ชัดเจนมาก รวมทั้งมีระนาบเส้นตั้งของเสา มาเป็นตัวนำสายตา ให้เห็นเป็นแกนเส้นตรงซึ่งเป็นแกนหลักของวัด นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ รายล้อมอยู่อีกเป็นจำนวนมากสันนิฐานว่า จะบรรจุอัฐฐิของ ราชวงศ์พระร่วง อ.จิ๋ว บรรยายว่าโครงสร้างอิฐโชว์แนว เป็นสัญลักษณ์ของสุโขทัย และการวางผังบริเวณที่มีการทิ้งระยะของตัวสถาปัตยกรรมเป็นการ flow of space

เมื่อเข้าไปภายในก็รู้สึกถึงขนาด scale ที่มีขนาดใหญ่โตมาก อาจเป็นเพราะ วัดแห่งนี้เป็นวัดหลวงประจำแผ่นดิน โชคไม่ค่อยดีอีกแล้ว ที่ฝนได้ตกลงมาทำให้ผมยัง เดินไปไม่ทั่วก็ต้องรีบเข้าหาที่ร่มจนมาถึงเวลาเที่ยงเรา พักทานข้าวเที่ยงกันที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ของอุทยานฯ ตัวสถาปัตยกรรมที่นี่ ถอดรูปแบบและวัสดุ ของสุโขทัยเข้ามาใช้ เป็นการสร้างสิ่งใหม่ให้เข้ากับพื้นที่และบริบทเก่าได้อย่างกลมกลืน โดยเฉพาะจังหวะ ของช่องเปิดหน้าต่างตามตั้งยาว มีรูปแบบที่ถูกถอดมาจากของเก่า วัสดุอิฐโชว์แนวที่เป็นเอกลักษณ์ของกำแพงเมือง

ตอนบ่ายพวกเราได้เดินทางต่อมายัง วัดพระพายหลวง ซึ่งเป็นวัดโบราณอีกเช่นกัน วัดนี้เป็นวัดที่สร้างก่อนสมัยสุโขทัย

ศิลปะแบบขอมซึ่งเห็นได้จาก พระปรางค์ ทุกด้านจะเป็นหน้าของเทพเจ้า สร้างตามหลักศาสนา พราหมณ์ คือมีศิวลึงค์อยู่ตรงกลาง บริเวณโดยรอบจะมีการเพาะปลูก เนื่องจากมีชุมชนขอมเก่าแก่ ลักษณะการวางผัง วางผังแบบ grouping

ต่อมาเป็นวัดศรีชุม มีลักษณะเด่นคือมณฑปประธาน ของวัดหลังคา ทรงกรวยเหลี่ยม พระประธานองค์ใหญ่ ข้างๆกันมี ซากขนาดเล็กสันนิฐานว่า จำลองมณฑปและวิหาร ที่จำลองมาจากสิ่งก่อสร้างประธานของวัด ข้างๆกันมีต้นมะม่วงโบราณใหญ่โตแผ่กิ่งก้านกว้างใหญ่

ต่อมาเป็นวัดศรีสวายเป็นวัดที่มีเส้นแกนของวัดอย่างชัดเจน มุงสู่พระปรางค์ที่เป็น ฉากหลัง ศิลปะขอม มีเทวรูปประดิษฐานด้านหน้า วัสดุก่อสร้างแบบเปลือยเปล่า ลักษณ์ช่องหน้าต่างเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยอย่างชัดเจน

หลังจากอุทยานฯ แล้วเราก็เดินทางต่อมายังบ้านชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงที่เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผสมผสานกับวัสดุธรรมชาติและสังกะสี รูปแบบอาจจะไม่เรียบร้อย หรือประณีตเท่าไร แต่รูปด้าน ระนาบที่ปรากฏให้เห็นน่าสนใจ ยิ่งนักมีการเล่นจังกว่าเส้นตั้งเส้นนอน และการมีจังหวะของวัสดุเก่ากับใหม่อย่างลงตัว

หลังจากนั้นเราก็ต้องกลับที่พักเพราะแสงแดดของวัน หมดลงเป็นสัญญาณว่า วันนี้ได้หมดลงเพียงแค่นี้ พร้อมกับความเหนื่อยล้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น